ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค CHEMGENE สามารถฆ่าเชื้อโรค, เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อไวรัส, เชื้อรา, H1N1, ไวรัส RSV, ฝีดาษลิง และ ฆ่าเชื้อโควิด-19, SARS-CoV-2, Omicron, โอมิครอน ตายภายใน 1 นาที 99.85% ปกป้องยาวนานถึง 14 วัน

Logo chemgene hld4h

[vc_row css=”.vc_custom_1646315198459{margin-top: 20px !important;margin-right: 20px !important;margin-left: 20px !important;}”][vc_column][vc_column_text]

เตือน ไข้มาลาเรีย สายพันธุ์โนวไซ ระบาดหลังพบติดเชื้อ 70 ราย

[/vc_column_text][vc_column_text css=”.vc_custom_1653063048216{margin-top: 5px !important;}”]กรมควบคุมโรค เตือน! โรค ไข้มาลาเรีย สายพันธุ์ “โนวไซ” เป็นโรคที่ติดจากลิงสู่คน หลังพบติดเชื้อแล้ว 70 ราย ตอนนี้อยู่ในช่วงเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด โดยอาการคือ ไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือน ผู้ที่ทำงานใกล้ชิดลิง หรือ อยู่อาศัยแนวชายป่า มีโอกาสป่วยเป็นโรคไข้มาลาเรียสายพันธุ์ “โนวไซ” ซึ่งเชื้อชนิดนี้สามารถติดต่อจากลิงสู่คนได้ และแบ่งตัวในร่างกายคนได้เร็วและมากกว่าเชื้อชนิดอื่น ทำให้มีอาการไข้สูง หนาวสั่น แต่การรักษายังสามารถใช้ตัวยาเดียวกับเชื้อชนิดอื่นได้ หากสงสัยให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสลิง เพื่อรักษาได้ทันเวลา[/vc_column_text][vc_single_image image=”7738″ img_size=”full” alignment=”center”][vc_column_text css=”.vc_custom_1653063068232{margin-top: 5px !important;}”]ในวันนี้ นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรค ไข้มาลาเรีย ชนิด “โนวไซ” (Plasmodium knowlesi) เป็นโรคไข้มาลาเรียที่ติดต่อจากลิงสู่คน โดยยุงก้นปล่องกัดลิงที่มีเชื้อแล้วมากัดคน ปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนว่ายุงสามารถนำเชื้อจากคนสู่คนได้ ลิงที่เป็นสัตว์รังโรคในไทย ได้แก่ ลิงกัง ลิงวอก ลิงเสน ลิงแสม และลิงอ้ายเงี๊ยะ

พบรายงานผู้ป่วยในไทยครั้งแรกเมื่อปี 2547 และพบปีละประมาณ 10 รายมาตลอด แต่ในครึ่งแรกของปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 31 มีนาคม 2565 พบผู้ป่วยไข้มาลาเรียจากเชื้อชนิดนี้แล้ว 70 ราย

โดยจังหวัดที่พบผู้ป่วยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จังหวัดระนอง สงขลา และตราด ดังนั้น ผู้ที่มีประวัติสัมผัสลิงในป่าในพื้นที่จังหวัดดังกล่าว แล้วมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ หนาวสั่น เหงื่อออกมาก ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันทีเพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อมาลาเรีย และแจ้งประวัติเข้าป่า เพื่อให้การรักษารวดเร็ว เพราะหากช้าอาจจะมีอาการแทรกซ้อนร้ายแรงและเสียชีวิตได้ และสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรือผู้ทำงานในป่า รวมถึงนักท่องเที่ยว ควรป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด โดยการสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด ทายากันยุง และนอนในมุ้ง[/vc_column_text][vc_single_image image=”7636″ img_size=”full” alignment=”center” onclick=”custom_link” img_link_target=”_blank” link=”https://www.enrichfogger.co.th/product/%e0%b9%80%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9e%e0%b9%88%e0%b8%99%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%9d%e0%b8%ad%e0%b8%a2-ulv-airofog-u260/”][vc_column_text css=”.vc_custom_1653063030912{margin-top: 5px !important;}”]นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวเสริมว่า กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค ได้ดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคไข้มาลาเรียอย่างเข้มแข็ง

โดยใช้เทคโนโลยีการรายงานผู้ป่วยผ่านระบบมาลาเรียออนไลน์ในการเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งแจ้งเตือนภัยทุกสัปดาห์ และเมื่อพบผู้ป่วยแต่ละรายมีการใช้มาตรการ 1-3-7 คือ รายงานผู้ป่วย ภายใน 1 วัน ติดตามสอบสวนการป่วย ภายใน 3 วัน และดำเนินการควบคุมกำจัด การแพร่เชื้อโรคไข้มาลาเรียอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใน 7 วัน รวมถึงมียารักษาที่เพียงพอ [/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row css=”.vc_custom_1646315221410{margin-right: 20px !important;margin-left: 20px !important;}”][vc_column][vc_column_text]ที่มา : www.springnews.co.th[/vc_column_text][vc_column_text]เกาะติดข่าวที่นี่
Website : www.healthycenter.co.th
Facebook : HealthyCenterThailandenrichfogger
Line : @Healthy Center
Youtube official : Healthy Center Thailand
Tiktok : @enrichfog[/vc_column_text][vc_wp_tagcloud taxonomy=”post_tag”][/vc_column][/vc_row]