[vc_row css=”.vc_custom_1646315198459{margin-top: 20px !important;margin-right: 20px !important;margin-left: 20px !important;}”][vc_column][vc_column_text]
อาการลองโควิดคืออะไร พบแบบไหนมากที่สุด อันตรายแค่ไหน
[/vc_column_text][vc_column_text css=”.vc_custom_1649349711158{margin-top: 5px !important;}”]อาการลองโควิดคืออะไร พบแบบไหนมากที่สุด อันตรายแค่ไหน อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ ฐานเศรษฐกิจรวบรวมข้อมูลลักษณะอาการ ผลกระทบที่เกิดขึ้น
อาการลองโควิดคือ เป็นคำถามที่ได้รับความสนใจในโลกโซเชียลเสมอ หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (Covid-19)
โดยเฉพาะเมื่อเกิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron)ที่มีการติดต่อได้ง่าย และรวดเร็ว
ทั้งนี้ “ฐานเศรษฐกิจ” ดำเนินการสืบค้นข้อมูลเรื่องดังกล่าว เพื่อไขคำตอบ พบว่า
ภาวะ Long COVID (ลองโควิด) คือ ผลกระทบระยะยาวของการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งมีอยู่หลากหลายชื่อไม่ว่าจะเป็น Long COVID-19 (ลองโควิด) ,Post-COVID condition ,Long-haul COVID ,post-acute COVID-19
,post-COVID-19 syndrome หรือ chronic COVID มีลักษณะคือมีอาการผิดปกติยาวนานกว่า 4 สัปดาห์ ทั้ง ๆ ที่ตามปกติแล้วเชื้อโควิด-19 นั้นมักจะหายไปในไม่กี่สัปดาห์หลังการติดเชื้อ
หากเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีจนหายแล้ว ให้ลองสังเกตตัวเองดูอีกทีว่าอาการที่เคยมีขณะที่ติดเชื้อ อย่างอาการเหนื่อยเพลียนั้นยังมีหลงเหลืออยู่หรือไม่? ถ้าคำตอบคือ ยังมีอยู่ มีความเป็นไปได้ว่ากำลังตกอยู่ในภาวะ Long COVID
และจากรายงานการวิจัยหลายฉบับมีการระบุไว้ว่า 80% ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะมีอาการ อ่อนเพลีย ปวดหัว ขาดสมาธิ ผมร่วง และหอบเหนื่อยมากที่สุด[/vc_column_text][vc_column_text css=”.vc_custom_1649349751502{margin-top: 5px !important;}”]
ภาวะ Long COVID ถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 3 ประเภท ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะอาการดังนี้
1. ภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการใหม่ หรืออาการเดิมไม่หายไป (New or ongoing symptoms)
คือการที่ผู้ป่วยโรคโควิด-19 นั้นมีอาการยาวนานต่อเนื่องไปเป็นระยะเวลานานหลายเดือนหลังจากติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นครั้งแรก มักพบในคนไข้อาการรุนแรงตั้งแต่ต้น และทวีคูณความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อออกกำลังกายหรือใช้สมาธิจดจ่อมาก ๆ โดยมีอาการ เช่น
- เป็นไข้ ปวดหัว วิงเวียนศีรษะคล้ายจะเป็นลม
- หายใจเหนื่อย หายใจไม่อิ่ม ไอ แน่นหน้าอก อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
- ปวดท้อง ท้องเสีย รับประทานอาหารไม่ลง
- ปวดหู หรือมีเสียงในหู
- ใจสั่น ขาดสมาธิ หรือคิดอะไรไม่ออก หัวตื้อ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน
- มีอาการชา ปวดกล้ามเนื้อและข้อ
- ไม่ได้กลิ่นหรือรับรสได้ไม่ดี
- ผื่นตามตัว
- รอบประจำเดือนมาผิดปกติ
[/vc_column_text][vc_single_image image=”7597″ img_size=”full”][/vc_column][/vc_row][vc_row css=”.vc_custom_1646315213457{margin-top: 5px !important;margin-right: 20px !important;margin-left: 20px !important;}”][vc_column][vc_column_text]
2. ภาวะที่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความผิดปกติในหลายอวัยวะ (multiorgan effects)
คือการที่ผู้ป่วยนั้นมีอาการผิดปกติเกี่ยวเนื่องกับอวัยวะหลายส่วนในร่างกาย โดยมีสาเหตุจากปฏิกิริยาทางสรีรวิทยาที่รุนแรงอย่าง cytokine storm ที่ร่างกายของผู้ป่วยโควิด-19 ไม่สามารถควบคุมการหลั่งสารในระบบภูมิคุ้มกันกลุ่ม cytokine ได้ส่งผลให้เนื้อเยื่อของอวัยวะหลายส่วนถูกทำลายโดยระบบภูมิคุ้มกันของตัวผู้ป่วยเอง มักพบมากที่บริเวณเนื้อเยื่อหัวใจ ปอด ไต สมอง และผิวหนัง
และในเด็กอาจะพบการเกิดโรค Multisystem Inflammatory Syndrome in Children Associated with COVID-19 (MIS-C) ที่มีอาการโรคคาวาซากิ (Kawasaki Disease) คือเกิดการอักเสบในหลายอวัยวะ มีไข้สูง ผื่นขึ้น ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองโต อาจเกิดขึ้นได้ในขณะที่ติดเชื้อโควิด-19 อยู่หรือหลังหายทันที โดยโรคนี้อาจมีผลกระทบต่อหลายอวัยวะ (multiorgan effects) ในระยะยาวได้[/vc_column_text][vc_column_text]
3.ผลกระทบระยะยาวจากการนอนโรงพยาบาลและจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
มักเกิดในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีการนอนโรงพยาบาล โดยเฉพาะห้อง ICU ที่ส่งผลกระทบด้านจิตใจ อาจทำให้แขนขาไม่ค่อยมีแรงและยังคงรู้สึกเหนื่อยล้าอยู่แม้จะไม่มีเชื้อโควิดอยู่แล้ว ในบางกรณีอาจมีผลต่อเรื่องการคิดและคำพูด นำไปสู่ภาวะที่มีอาการผิดปกติทางจิตใจหลังจากประสบเหตุการณ์รุนแรง (post-traumatic stress disorder; PTSD) เช่น การได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ หรือถูกปั๊มหัวใจในการช่วยชีวิต ส่งผลให้เกิดความเครียดฉับพลันและอาจสะสมมาอย่างต่อเนื่อง
นอกจากภาวะดังกล่าวที่มีสาเหตุมาจากอาการเจ็บป่วยแล้วนั้น โรคโควิด-19 ยังส่งผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ หรือการที่บางคนนั้นจำเป็นต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวที่คนใกล้ชิดติดเชื้อหรือเสียชีวิต รวมไปถึงการเข้าถึงสถานพยาบาลได้ยากเวลามีอาการผิดปกติ ส่งผลให้มีความวิตกกังวลเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการป้องกันภาวะ Long COVID นั้น เบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยการ
- การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
- สวมใส่หน้ากากที่คลุมบริเวณปากและจมูกอย่างมิดชิด
- รักษาระยะห่าง โดยอยู่ห่างจากผู้อื่นประมาณ 1.5-2 เมตร เลี่ยงบริเวณแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
- ล้างมือบ่อย ๆ
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row css=”.vc_custom_1646315213457{margin-top: 5px !important;margin-right: 20px !important;margin-left: 20px !important;}”][vc_column][vc_column_text]
ที่มา : www.thansettakij.com
[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row][vc_row css=”.vc_custom_1646315221410{margin-right: 20px !important;margin-left: 20px !important;}”][vc_column][vc_column_text]เกาะติดข่าวที่นี่
Website : www.healthycenter.co.th
Facebook : HealthyCenterThailandenrichfogger
Line : @Healthy Center
Youtube official : Healthy Center Thailand
Tiktok : @enrichfog[/vc_column_text][vc_wp_tagcloud taxonomy=”post_tag”][/vc_column][/vc_row]